top of page
ค้นหา
  • nuywongsi

สเตนเลสเพื่อการใช้งานของฮีตเตอร์

“สเตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กในกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง สเตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 10.5 % หรือมากกว่า ทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า Passive film) ที่มองไม่เห็น เกาะติดแน่นอยู่ที่ผิวหน้า ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการกัดกร่อน ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ, ค่าซ่อมบำรุงต่ำ, ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และประโยชน์ในการใช้งานอื่นๆอีกมากมาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงนิยมเอาสเตนเลสมาทำฮีตเตอร์

คุณสมบัติเบื้องต้น

1.ทนทานต่อการกัดกร่อน

สเตนเลสที่เลือกเอามาทำฮีตเตอร์ต้องทนทานต่อการกัดกร่อน สเตนเลสแต่ละประเภทจะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสมไม่สูง สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป สเตนเลสเกรดนี้เหมาะกับฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนในอากาศหรือไม่มีการกัดกร่อนมากนัก เช่น สเตนเลส304 ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อนในกรด, ด่าง, สารละลาย และบรรยากาศคลอไรด์ได้เกือบทั้งหมด สเตนเลสเกรดนี้เหมาะกับฮีตเตอร์ที่ต้องทนกับสารเคมีมากๆ เช่น สเตนเลส 316 หรือ สเตนเลส 316L

2.ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ

สเตนเลสบางเกรดสามารถทนความร้อนและความเย็นได้ รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนต่อความร้อน จึงทำให้นิยมนำสเตนเลสไปทำฮีตเตอร์ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร,อุตสาหกรรมพลาสติก และอื่นๆอย่างแพร่หลาย

3.ง่ายต่องานประกอบหรือขึ้นรูป

สเตนเลสส่วนใหญ่สามารถตัด เชื่อม ขึ้นรูปได้ง่าย ด้วยคุณสมบัติและลักษณะต่างๆของสเตนเลส ช่วยให้ผู้ผลิตฮีตเตอร์สามารถนำสเตนเลสไปดัดแปลงรูปร่างต่างๆให้เหมาะสมกับหน้างานที่ใช้ เช่น ฮีตเตอร์เทอร์บูลาร์ดัดสปริง, ฮีตเตอร์คาร์ทริดจ์ท่อแอล เป็นต้น

4.แข็งแกร่งทนทาน

คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลส คือ ความแข็งแกร่งทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา, น้ำหนัก และราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความทนทานสูง เช่น ฮีตเตอร์หล่ออะลูมิเนียม, ฮีตเตอร์แผ่น, ฮีตเตอร์คาร์ทริดจ์ เป็นต้น

5.ทำความสะอาดง่าย

ฮีตเตอร์ที่ทำด้วยสเตนเลสสามารถทำความสะอาดและดูแลรักษาได้ง่าย เนื่องจากสเตนเลสไม่เกิดสนิมจึงสามารถทำความสะอาดได้ง่าย


จุดด้อยของสเตนเลสที่เลือกเอามาทำฮีตเตอร์

1.สเตนเลสมีความเปราะกว่าเหล็ก

จึงไม่เหมาะสำหรับทำฮีตเตอร์ที่ต้องดัดงอมากๆ หรือดัดถี่เกินไป เมื่อทำการดัดท่อสเตนเลสฮีตเตอร์แล้ว จะไม่สามารถดัดกลับมาเป็นสภาพเดิมได้

2.ทำการเคลือบสีไม่ติด

เนื่องจากสเตนเลสมีการสร้างฟิล์มด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้สีที่เคลือบไม่สามารถเกาะติดบนผิวสเตนเลสได้

3.สามารถเกิดสนิมได้

หากจัดเก็บฮีตเตอร์ที่ทำด้วยสเตนเลสในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอ๊อกซิเจนปกคลุมผิวสเตนเลส จะทำให้ผิวสเตนเลสเกิดสนิมได้

4.เกิดการผุกร่อนได้

หากผิวสเตนเลสสัมผัสกับกรดเข้มข้นหรือคลอไรด์ (Cl) เพราะสเตนเลสไม่สามารถคงทนต่อกรดเข้มข้นหรือคลอไรด์ จึงจำเป็นต้องเพิ่มนิเกิ้ล (Ni) เข้าไปในส่วนผสมให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความคงทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ส่วนใหญ่มักพบในฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์บ๊อบบิ้น เพราะฮีตเตอร์สองประเภทนี้ต้องสัมผัสกับสารเคมีโดยตรงเป็นระยะเวลานาน จึงเกิดการผุกร่อนได้ง่ายกว่าฮีตเตอร์ประเภทอื่น


ติดต่อช่าง





ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page